การจัดห้องฝึกอบรม
เป็นการดูแลและจัดการห้องฝึกอบรม โดยการนำหลักการและเทคนิคในการจัดการมาปรับใช้
เพื่อก่อให้เกิดสถานการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งห้องฝึกอบรมที่เหมาะสมนั้น ควรมีขนาดที่ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไปขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
และโดยทั่วไปจำนวนของผู้เข้ารับการอบรม และโดยทั่วไปจำนวนของผู้เข้ารับการอบรมที่จัดว่าเหมาะสมกับการฝึกอบรมแต่ละครั้งควรอยู่ระหว่าง
25 - 30 คน ดังนั้น การจัดห้องฝึกอบรมจึงต้องคำนึงถึงปัจจัย
ดังนี้
1. แสงสว่าง
ห้องฝึกอบรมควรมีแสงสว่างเพียงพอต่อการอ่านหนังสือหรือจดบันทึกข้อความต่าง
ๆ แสงสว่างควรอยู่ในระดับพอดี ไม่สลัวหรือสว่างจ้าจนเกินไป
2. อุณหภูมิ
อุณหภูมิภายในห้องฝึกอบรมควรอยู่ในภาวะที่ผู้เข้ารับการอบรมรู้สึก
สบายไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ห้องฝึกอบรมที่มีบรรยากาศร้อน อบอ้าว
หรือหนาวจนผู้เข้าอบรม สั่นสะท้าน จะมีผลต่อสมาธิในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ทำให้ไม่ตั้งใจเท่าที่ควร
3. การถ่ายทอดของอากาศ
สภาพของห้องอบรมที่ดีควรมีการถ่ายเทของอากาศ ได้ตลอดเวลา ไม่ควรจะเป็นห้องทึบ
ในกรณีที่เป็นห้องปรับอากาศควรมีที่ระบายอากาศเพื่อให้อากาศหมุนเวียนอยู่เสมอ
แบบที่
1 ถ้าการฝึกอบรมใดต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นกันอยู่เสมอ ๆ ใช้แบบรูปตัว U
แบบที่
2 ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการแบ่งกลุ่มอยู่เสมอ ๆ อาจจะมีการจัดโต๊ะกลุ่ม
เป็นกลุ่มย่อยไว้ตามมุมห้องด้วย ถ้าห้องนั้นใหญ่และมีที่ว่างเพียงพอ
แบบที่
3 ในกรณีที่ห้องมีขนาดจำกัด ไม่สามารถจัดโต๊ะแบ่งกลุ่มย่อยไว้ตามมุม
ห้องได้วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ ต้องเป็นรูปตัว U เหมือนแบบ
1 แล้วเสริมเก้าอี้ไว้ด้านในเวลา แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมก็สามารถเดินเข้าไปนั่งเป็นกลุ่มย่อยได้
แบบที่
4 การฝึกอบรมที่มีผู้เข้ารับการอบรมมีจำนวนมากและห้องฝึกอบรมมีขนาดไม่เหมาะสมกัน
แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้ห้องนั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ลักษณะการจัดที่นั่งอาจจะเป็นแบบชั้นเรียน เพื่อให้บรรจุคนให้ได้มาก
แต่ลักษณะการจัดที่นั่งแบบที่ไม่เหมาะสมนี้ไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่มากนัก
เพราะลักษณะที่นั่งทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้สึกเหมือนกับการเรียนหนังสือ